เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 2 ประการ

(ค) ธรรม 2 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ
1. นาม
2. รูป1
นี้ คือธรรม 2 ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม 2 ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ

1. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
2. ภวตัณหา (ความอยากในภพ)2

นี้ คือธรรม 2 ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม 2 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ

1. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
2. ปาปมิตตตา (ความมีบาปมิตร)3

นี้ คือธรรม 2 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม 2 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ

1. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย)
2. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร)4

นี้คือธรรม 2 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 304 หน้า 252 ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) 20/90/107
2 ดูเทียบข้อ 304 หน้า 252 ในเล่มนี้
3 ดูเทียบข้อ 304 หน้า 253 ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) 20/95/108
4 ดูเทียบข้อ 304 หน้า 253 ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) 20/96/108

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :370 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 2 ประการ

(ฉ) ธรรม 2 ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ
1. ธรรมที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
2. ธรรมที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
นี้คือธรรม 2 ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม 2 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ 2 ได้แก่

1. ขยญาณ (ความรู้ในการสิ้นกิเลส)
2. อนุปปาทญาณ (ความรู้ในการไม่เกิดกิเลส)1

นี้ คือธรรม 2 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 2 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ ธาตุ 2 ได้แก่
1. สังขตธาตุ (ธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)
2. อสังขตธาตุ (ธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)
นี้ คือธรรม 2 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 2 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ

1. วิชชา (ความรู้แจ้ง)
2. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)2

นี้ คือธรรม 2 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 20 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 304 หน้า 258 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 304 หน้า 258 ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) 20/91/107

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :371 }